วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558



REPORTED SPEECH

เมื่อจะนำคำพูดของใครไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง อาจมีวิธีพูดได้ 2 วิธี คือ
1. โดยยกคำพูดจริง ๆ ของผู้พูดไปเล่าให้ฟังทั้งหมดโดยไม่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า Direct Speech เช่น
John said, "I like Mathematics."
ข้อความว่า "I like Mathematics" เป็น Direct Speech อ่านเพิ่มเติม




SHOULD HAVE + PAST PARTICIPLE

Should have + V3/ Should’ve + V3
ถ้าพูดว่า I should have done แปลว่า ฉันควรจะทำมันไปแล้ว 
หรือ I should have told you แปลว่า ฉันควรจะบอกคุณไปแล้ว 
You should’ve said no หรือ You should have said no แปลว่า คุณควรจะตอบปฏิเสธไป อ่านเพิ่มเติม





PAST PERFECT TENSE

  หลักการใช้ Past Perfect Tense

         ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และสิ้นสุดลงแล้วในอดีตทั้ง2เหตุการณ์ซึ่งเหตุการณ์หนึ่งได้สิ้นสุดลงก่อนหน้าอีกเหตุการณ์ โดย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อนจะใช้Past Perfect Tense

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงทีหลังจะใช้Past Simple Tense อ่านเพิ่มเติม





CAUSATIVE FORM

  รู้จักการใช้ Causative Form - have something done, have someone do

       ในภาษาอังกฤษจะมีประโยคแบบพิเศษอยู่แบบหนึ่ง ซึ่งประธานของประโยคไม่ได้เป็นคนทำการกระทำนั้นด้วยตัวเอง แต่ให้บุคคลอื่นทำการกระทำต่างๆ ให้ตัวเอง เช่น หากเราจะไปตัดผม (โดยให้ช่างตัดผมตัดให้) เราจะไม่สามารถพูดว่า I will cut my hair. ได้ เพราะคนฟังจะเข้าใจผิดว่าเราจะทำการตัดผมของเราด้วยตัวเราเอง อ่านเพิ่มเติม





CONDITIONAL SENTENCES

Conditional sentences หรือที่หลายคนรู้จักในนาม if-clause คือ ประโยคเงื่อนไข ประกอบด้วยอนุประโยค (ประโยคย่อย) สองประโยค ประโยคหนึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า If กับอีกประโยคหนึ่งมีหน้าตาเหมือนประโยคสมบูรณ์ทั่วไป สังเกตว่า อนุประโยคสองประโยคนี้สลับที่กันได้ จะยกประโยคไหนขึ้นต้นก็ได้ แล้วแต่การเน้นและความหมาย

1. ZERO Conditional Sentences
    Zero conditional sentences ใช้สำหรับพูดถึงความจริงทั่วไป โดยใช้ present simple ในอนุประโยคทั้งสองประโยค อ่านเพิ่มเติม





PREPOSITION

Preposition หรือคำบุพบทคือ คำที่ใช้เชื่อมคำนามกับคำนาม หรือเชื่อมคำนามกับ
วลี/ประโยค โดยจะมีอยู่ประมาณ 40 กว่าคำที่ใช้บ่อย และการใช้ preposition จะแบ่ง
ออกเป็น 3 วิธี ดังนี้

    1. การใช้ preposition ตามความหมายของ preposition
    2. การใช้ preposition แสดงวันที่, วัน, เดือน, ปี และเวลา
    3. การใช้ preposition แบบ collocation อ่านเพิ่มเติม





MODAL AUXILIARIES

Modal verb หรือกริยาช่วย อันได้แก่ can, could, may, might, will และ would ฯลฯ นั้น 

ทำหน้าที่ได้ 2 ประการ คือ
1) ใช้แสดง ความเป็นไปได้
2) ใช้แสดงมารยาททางสังคมต่างๆ อ่านเพิ่มเติม




REFLEXIVE PRONOUNS

   Reflexive  Pronouns  เป็นสรรพนามที่สะท้อนกลับไปหาประธานของประโยค  เช่น  myself  =  ตนเอง,  himself  =  ตัวเขาเอง  เป็นต้น  เกิดขึ้นเนื่องจากการรวมกันระหว่าง  Possessive  Pronouns  และ  self / selves  มีดังนี้ อ่านเพิ่มเติม





THE PASSIVE

Passive Voice คือ โครงสร้างประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งกริยาหลักจะอยู่ในรูปของ กริยาช่วยbe + V3 มาดูกันครับว่าในแต่ละ Tense นั้น Passive Voice จะมีรูปแบบอย่างไรบ้าง 

*เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
     ประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำเรียกว่า Active Voice
     ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำเรียกว่า Passive Voice  อ่านเพิ่มเติม





FUTURE WITH WILL OR  BE GOING TO


การใช้ will/ be going to

1. will และ be going to เป็นโครงสร้างที่ใช้แสดงอนาคตกาล
2. โครงสร้าง be going to ใช้ในความหมายของความตั้งใจจะกระทำจริงๆ
   ในอนาคตมากกว่าโครงสร้าง will

3. โครงสร้าง  will/ be going to ต้องตามด้วยกริยาแท้ที่ไม่กระจายเสมอ อ่านเพิ่มเติม






PRESENT PERFECT PROGRESSIVE
VS
PRESENT PERFECT SIMPLE

โครงสร้างประโยค   S + has/have + V3

วิธีใช้ Present Perfect Simple Tense

1. เพื่อแสดงถึงการกระทำที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตและยังคง
ดำเนินต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในขณะที่กำลังพูดถึงอยู่โดยปกติ อ่านเพิ่มเติม





PRESENT SIMPLE TENSE

   ประโยค Present Simple Tense เชิงบอกเล่า

โครงสร้าง : Subject + Verb 1 (s )
( ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ( s ) )
( เมื่อประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 หลังคำกริยาจะต้องเติม s )

ตัวอย่าง : 
1. I go to school by car. (ฉันไปโรงเรียนโดยรถยนต์)
2. He walks to school. ( เขาเดินไปโรงเรียน )
3. You play football every day. ( คุณเล่นฟุตบอลทุกวัน ) อ่านเพิ่มเติม



วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558


PHRASAL VERBS

      Phrasal verbs หรือ two-word verbs คือ การใช้คำกริยาที่ปกติแล้วมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ส่วนประกอบ เมื่อ verb+ preposition or particle มารวมกันเป็น Phrasal verbs แล้ว อาจจะทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้นมาซึ่งอาจจะไม่มีเค้าความหมายของคำกริยาเดิมเลย นิยมใช้กันมากในภาษาอังกฤษ
หลักสำคัญในการใช้ Phrasal Verbs หรือ Two-Word Verbs

1.เมื่อไม่มี direct object ต้องวาง adverb ไว้ติดกับ verb เช่น
   - please come in.
   - Don't give up, whatever happens.

2. เมื่อมี object pronoun เช่น him, her, it, them, me, us, เป็น direct object ต้องวาง object เหล่านี้ไว้หน้า adverb เช่น
   - I can't make it out. (right)
   - I can't make out it.(wrong)

3. เมื่อมี noun เช่น book , pen , houses , etc.เป็น direct object จะวาง noun ไว้หน้าหรือหลัง adverb ก็ได้        (verb +adverb +noun) หรือ (verb +noun +adverb) เช่น
   - Turn on the light.  หรือ  - Turn the light on.

4. ตามข้อ 3 ถ้า object เป็นคำยาว เช่นมี object clause ขยายต้องวางobject ไว้หลัง adverb เช่น
   - He gave away every book that he possesed. (right)
   - He gave every book that he possesed away. (wrong)

5. ในประโยคอุทาน (exclamatory Sentences)ให้วาง adverb ไว้หน้าประโยคยืดหลักดังนี้
   5.1 ถ้าประธานเป็น noun เอากริยาตามมาได้เลย เช่น
      -Off went john! = John went off.
   5.2 ถ้าประธานเป็น pronoun ใหัใช้แต่ adverb ไม่ต้องใช้ verb เช่น
      -Away they went ! = They went away.

ประเภทของ Phrasal verbs

1. Inseparable Verbs with no objects  คือ phrasal verb ที่ต้องติดกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ ไม่ต้องมีกรรม เช่น
   set off ออกเดินทาง         Speed up เร่งความเร็ว
   Wake up ตื่นนอน            Stand up ยืนขึ้น
   Come in เข้ามาถึง           Get on ขึ้น (รถ) / เข้ากันได้
   Carry on ทำต่อไป           Find out เรียนรู้
   Grow up เติบโต             Turn up ปรากฏตัว

2. Inseparable Verbs with objects คือ phrasal verb ที่ต้องอยู่ติดกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่ต้องมีกรรม เช่น
   Look after เลี้ยงดู                              Look into สอบถาม ตรวจสอบ
   Run into ชน                                     Come across พบโดยบังเอิญ
   Take after เหมือนถอดแบบ                  Deal with ติดต่อ เกี่ยวข้อง
   Go off ออกไป จากไป หยุดทำงาน         Cope with จัดการ

3. Separable verbs คือ ที่แยกจากกันได้ มักจะต้องการกรรม
   Turn on เปิด(ไฟ)           Turn off ปิด (ไฟ)
   Turn down หรี่ (เสียง)     Swith off ปิด
   Look up มองหา             Take off ถอด ออกดินทาง

4. Three-Word Phrasal Verbs  คือ phrasal verb ที่ไม่มีกรรมและบางครั้งมีการใช้บุพบทมากกว่า 1 ตัว เช่น
   Get on with ทำต่อไป ไม่หยุด                Cut down on ลดปริมาณลง
   Look out for เตรียมพร้อม                      Catch up with ตามทัน
   Run out of หมด                                  Get down to เอาจริงเอาจัง
   Stand up for ปกป้อง เดือดร้อนแทน         Look down to ดูถูก
   Look up to ยอมรับนับถือ                        Put up with อดทน

   Look out on มองออกไป